1 ปีมาไวจริงๆ ถึงรอบต้องยื่นแบบเสียภาษีอีกแล้ว สำหรับเรามันก็คือบุคคลธรรมดา แต่ว่าการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานี่สิ คำว่า "
เงินได้" ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มาดูกันครับ
ปล. ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ
กรมสรรพากรนะครับ
=====================================================
เงินได้ตามมาตรา 40 (1)
เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง
โบนัส เบี้ยหวัด เงินค่าเช่าบ้าน และทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ
ที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เป็นต้น
*** กรณีได้รับเงินเดือนและค่านายหน้าจากนายจ้างผู้จ่ายเงินได้
รายเดียวกันถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) ***
=====================================================
เงินได้ตามมาตรา 40 (2)
เงินได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้
ไม่ว่าหน้าที่ ตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้จะเป็นการประจำหรือชั่วคราว เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ส่วนลด เบี้ยประชุมเงินค่าเช่าบ้าน ค่าปรึกษา เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นเนื่องจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สว. อบต. เป็นต้น*** เงินได้ตามมาตรา 40(2) ต่างจาก 40(8) ดังนี้ 40(2) ใช้แรงงานเป็นสำคัญและมีค่าใช้จ่ายน้อย ส่วน 40(8) ทำในรูปของธุรกิจมีสำนักงาน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง ***
=====================================================
เงินได้ตามมาตรา 40 (3)
ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่นในทำนอง
เดียวกัน หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินได้รายปี เช่นค่าเขียน/ค่าพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
=====================================================
เงินได้ตามมาตรา 40 (4)
เงินได้ที่เกิดจากการลงทุนในตราสารทุนหรือตราสารหนี้ ซึ่งได้รับ
ในลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์ หรือค่าตอบแทนอื่นๆ
เช่น ดอกเบี้ย (เงินฝากธนาคาร พันธบัตร หุ้นกู้) เงินปันผลจากบริษัท-
ต่างประเทศ เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น/ผู้เป็นหุ้นส่วน เงินเพิ่มทุน/ลดทุน เป็นต้น
*** สำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม
กฎหมายไทย เลือกหัวข้อถัดไป (เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข)) ***
=====================================================
เงินได้ตามมาตรา 40 (5)
เงินหรือประโยชน์ที่ได้รับเนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ค่าเช่าบ้าน
ค่าเช่ารถยนต์ การผิดสัญญาเช่าซื้อ หรือการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน เป็นต้น
=====================================================
เงินได้ตามมาตรา 40 (6)
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย(ค่าว่าความ) การประกอบ
โรคศิลปะ(แพทย์เปิดคลีนิค) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี(ค่าสอบบัญชี) ประณีตศิลปกรรม
=====================================================
เงินได้ตามมาตรา 40 (7)
เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
=====================================================
เงินได้ตามมาตรา 40 (8)
เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ ฯลฯ เงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวม
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้า เงินค่าขายหน่วยลงทุนคืนให้กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
=====================================================
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร และ
เลือกเสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ
=====================================================
เงินค่าขายกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมาย
ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
=====================================================
เงินค่าขายกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่า
ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
=====================================================
เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน หมายถึง
1. เงินได้ที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ และวิธีการเช่นเดียวกับบำเหน็จตาม
กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
2. เงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ.
3. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
4. เงินได้ที่จ่ายให้ครั้งเดียวที่มีวิธีคำนวณต่างไปจากข้อ 1.
*** ระยะเวลาการทำงานต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี ***
=====================================================
เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน หมายถึง
1. เงินได้ที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ และวิธีการเช่นเดียวกับบำเหน็จตาม
กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
2. เงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ.
3. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
4. เงินได้ที่จ่ายให้ครั้งเดียวที่มีวิธีคำนวณต่างไปจากข้อ 1.
*** ระยะเวลาการทำงานต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี ***
=====================================================
เมื่อทราบว่ามีเงินได้อะไรบ้างที่ต้องแบบเสียภาษีแล้ว เราก็มาทำความรู้จักเกี่ยวกับ
รายได้ที่ได้รับการยกเว้นหรือค่าลดหย่อนกันบ้างนะครับ เพื่อให้ใช้สิทธิได้ถูกต้องครบถ้วนไม่ขาดไม่เกินครับ