ตอบกระทู้ 
 
คะแนนกระทู้:
  • 0 Votes - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
ประวัติความเป็นมาของการท่องเที่ยวของไทย
Fri, 07 Aug 20, 17:00
Post: #1
ประวัติความเป็นมาของการท่องเที่ยวของไทย
ก่อนที่การท่องเที่ยวจะกลายเป็นปรากฏการณ์ระดับนานาชาติที่หลายประเทศให้ความสำคัญ อย่างที่ได้กล่าวไปในแล้ว การเดินทางและการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่ฝงอยู่การใช้ชีวิตของมนุษย์มาเป็น ระยะเวลานาน เรามักจะคุ้นชินของภาพการ ท่องเที่ยวรูปแบบสมัยใหม่ที่มีความเป็นธุรกิจค่อนข้งสูงมีการจัดการต่งๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งที่กิจกรรม การท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่แฝงอยู่กับวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมมาโดยตลอด การเดินทางท่องเที่ยวแบบ ตะวันตกหรือการท่องเที่ยวแบบสมัยใหม่กับการท่องเที่ยวรูปแบบตะวันออกอาจจะมีการให้ความหมายหรือ การให้นิยามแตกต่างกัน เพราะความแตกต่างทางด้านสังคม วัฒนธรรม ประเพณี สำหรับชาวตะวันออก หรือชาวเอเชีย การเดินทางท่องเที่ยวอยู่กับวิถีชีวิตมาตั้งแต่ในยุคอดีต สนับสนุนโดย สล็อตออนไลน์
เช่น การเดินทางเพื่อไปเยี่ยมญาติ การเดินทางเพื่อแสวงบุญ การเดินทางในรูปแบบนี้ยุคแรกๆ อาจจะไม่ได้จัดว่าเป็นการท่องเที่ยว เพราะเมื่อ เรานึกถึงการเดินทางท่องเที่ยวในยุคใหม่ เราอาจจะนึกถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อน เพลิดเพลิน สะดวกสบาย เพียงอย่างเดียว แต่ทั้งนี้การเดินทางท่องเที่ยวมีหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการทำความเข้าใจการ เดินทางท่องเที่ยวในแบบวิถีของชาวเอเชียมีความน่าสนใจ ในขณะเดียวกันการท่องเที่ยวแบบสมัยใหม่ก็ได้ เข้าไปผสมผสานกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ (Singh, 2009) เมื่อมองการท่องเที่ยวตามความหมายของการท่องเที่ยวยุคใหม่ที่มีการจัดการสิ่งต่างๆ อย่างเป็น ระบบ อาทิ การเดินทาง ที่พัก จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในรูปแบบนี้เพิ่งจะปรากฎให้ เห็นอย่างชัดเจนในประเทศไทย ประมาณ 50 - 60 ปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ที่ทำให้การคมนาคมมีความสะดวกสบาย ชนชั้นกลางและชนชั้นล่างเริ่มมีโอกาสในการท่องเที่ยวมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อนที่การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินจะเป็นกิจกรรมของชนชั้นสูง อีกทั้งโอกาสในการท่องเที่ยวจะเกิดขึ้นได้เพราะด้านการค้า การเมือง การทูต หรือศาสนาเป็นต้น(ตุ้ย ชุมสาย & ญิบพัน พรหมโยธี, 2527: 20-23; นิศา ชัชกุล, 2551: 28) การเดินทางของไทยในยุคแรกจึงเป็นกิจกรรมของชนชั้นนำเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการเดินทางของ สามัญชนจะมีภาระผูกพันไนการทำงาน มีพันธะกับมูลนายของระบบไพรในสังคมแบบศักดินา ประชาชน ส่วนใหญ่จะไม่เคลื่อนย้ายและเป็นการเดินทางในระยะไม่ไกล เช่น เป็นการเดินทางไปพบกันที่วัดเพื่อ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือเป็นกิจกรรมเพื่อความบันเทิงอื่นๆ ในยุคนั้นศูนย์กลางของกิจกรรมจึง เกิดขึ้นที่วัด (อดิศร ศักดิ์สูง, 2554: 16) คนไทยในยุคอดีตจึงมีความผูกพันกับวัด วัดคือสถานที่สำคัญที่เป็น ศูนย์รวมจิตใจ รวมไปถึงเป็นพื้นที่พบปะของคนในชุมชน สังสรค์ พักผ่อน พบญาติมิตร แสวงหาความรู้ ทำบุญ ชมมหรสพ เป็นตัน (ศิริ ฮามสุโพธิ์, 2543: 38-39) อาจทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่า ผู้สูงอายุไทยในอดีต หากต้องการจะพักผ่อนหรือเดินทางท่องเที่ยว จะเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบจาริกแสวงบุญ (plgrimage tourism) เป็นการเดินทางไปเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และทำบุญให้ทาน เพราะฉะนั้นการเดินทางท่องเที่ยว ของผู้สูงอายุไทยในยุคนั้นจึงน่จะแฝตัวอยู่กับวัฒนธรรมหรือพิธีกรรมที่สำคัญต่างๆ อดิศร ศักดิ์สูง (2554) ยังอธิบายเพิ่มเติมว่าหากย้อนไปสมัยประวัติศาสตร์ การเดินทางของไทย เกี่ยวข้องการทำสงครามระหว่างอาณาจักรชนเดียวกับประเทศตะวันตกที่ทำสงคราม จากสมัยสุโขทัย สมัย อยุธยา จนกระทั่งมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เป็นยุคของการเปิด ประเทศรับวัฒนธรรมตะวันตก ที่เห็นได้ชัดเจนคือการทำสนธิสัญญาเบาริ่งในปี พ.ศ.2398 โดยมีการ กำหนดให้มีการยกเลิกการค้าแบบผูกขาดในระบบพระคลังสินค้า ทำให้เกิดการค้าเสรีและมีการเดินทางของ ชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น เมื่อมาถึงรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัดเจนในหลายๆ ด้าน มีการพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัยตามอย่างตะวันตก ซึ่งเป็นความพยายามที่จะ ลดปัญหาความขัดแย้งกับชาติตะวันตกไปพร้อมๆ กัน ในขณะที่เรื่องของการท่องเที่ยวตามแนวคิดอย่าง ตะวันตกจึงค่อยๆ มีความชัดเจนมากขึ้นในสมัยนี้ หลักฐานที่อาจจะเทียบเคียงได้กับการท่องเที่ยวที่ ใกล้เคียงกับการท่องเที่ยวยุคใหม่คือการเดินทางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเสด็จ ประพาสยุโรป โดยเรือหลวงมหาจักรี ใน พ.ศ.2440 เป็นเวลา 9 เดือน ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการ ท่องเที่ยวแบบแกรนด์ทัวร์ครั้งแรกของไทย มีการวางแผนการเดินทาง จัดเส้นทางการเดินทาง จัดเตรียม อาหาร สถานที่พักแรม และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ตามสถานที่ไปเยือน
ค้นหาข้อความทั้งหมดของสมาชิกท่านนี้
อ้างถึงข้อความนี้ในการตอบกระทู้
ตอบกระทู้ 


** ข้อแตกต่างระหว่างการตอบกระทู้โดยใช้กล่อง comment ของ Facebook กับกล่องตอบข้อความของทางเว็บ


ไปยังหัวข้อ:


ผู้ที่กำลังดูกระทู้นี้: 1 ผู้เยี่ยมชม