ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว
รู้ทัน อาการติดเชื้อ ไวรัส rsv เป็นอย่างไร - Printable Version

+- ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว (http://www.thaibuddytrip.com/forum)
+-- Forum: ประสบการณ์อื่นๆ (/forumdisplay.php?fid=1)
+--- Forum: พูดคุยทั่วไป (/forumdisplay.php?fid=20)
+--- Thread: รู้ทัน อาการติดเชื้อ ไวรัส rsv เป็นอย่างไร (/showthread.php?tid=56330)



รู้ทัน อาการติดเชื้อ ไวรัส rsv เป็นอย่างไร - Unyana - Sun, 25 Apr 21 12:06

รู้ทัน อาการติดเชื้อ ไวรัส rsv เป็นอย่างไร พร้อมแนะวิธีรักษาและป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลโรค

โรคติดเชื้อ ไวรัส rsv (Respiratory Syncytial Virus) เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบและหลอดลมอักเสบ เชื้อไวรัส RSV ติดต่อถึงกันได้ง่าย เข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปากจากการไอ จาม สัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และจับมือของผู้ป่วย มักจะแพร่ระบาดระหว่างฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว เด็กเล็กมีโอกาสรับเชื้อไวรัสตั้งแต่แรกเกิด การติดเชื้อในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคหัวใจหรือโรคปอดมักมีอาการรุนแรง มีโอกาสเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่พบไม่บ่อยนัก
หลังจากได้รับเชื้อมีระยะฟักตัวประมาณ 2-6 วัน ในระยะแรกผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดธรรมดา การติดเชื้อไวรัส rsv อาการ เป็นดังนี้
- อาการไข้สูง ๆ ต่ำ ๆ
- ไอมากจนหอบเหนื่อย
- หายใจลำบาก เสียงหายใจดังวี้่ดฟังดูผิดปกติ
- จามบ่อย มีน้ำมูกใสไหลตลอดเวลา
- เสมหะสีเหลืองหรือคล้ำเขียว
- เบื่ออาหาร งอแง มีอาการซึม
- เด็กเล็กร้องงอแง ร้องไห้ แต่ไม่มีน้ำตา แสดงถึงภาวะขาดน้ำ
- ปลายนิ้วและเล็บเป็นสีเขียวคล้ำ ตัวเขียวจากการขาดออกซิเจน

เด็กอายุน้อยเท่าไรยิ่งมีความเสี่ยงเป็นโรคขั้นรุนแรงหากส่งตัวมาพบแพทย์รักษาช้าเกินไป ควรสังเกตอาการและรีบพาไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ โดยแพทย์ โรง พยาบาล แถว พระราม 4 จะตรวจหาเชื้อโดยการป้ายโพรงจมูกและเอกซเรย์ปอดเพื่อเช็กว่าเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ปอด

[b]วิธีรักษาโรคติดเชื้อ ไวรัส rsv[/b]

ปัจจุบันไม่มียารักษาเชื้อไวรัสนี้โดยตรง แพทย์จะรักษาไปตามอาการ โดยให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ ดูแลร่างกายให้อบอุ่นและดื่มน้ำมากเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ สามารถกินยาและรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ยกเว้นกรณีที่เด็กเกิดก่อนกำหนด มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอด หรือกินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบส่งตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากมักมีอาการเหนื่อยหอบรุนแรงที่ต้องให้ออกซิเจน ไข้สูง อาเจียนมาก ดูดนมไม่ได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำและน้ำเกลือทางหลอดเลือด เคาะปอดดูดเสมหะออก หรือพ่นยาขยายหลอดลม เป็นต้น

แม้ว่าผู้ป่วยหายจากโรคนี้แล้ว แต่จะไม่เกิดการกระตุ้นภูมิต้านทาน ทำให้มีโอกาสติดเชื้อซ้ำอีกหลายครั้ง แต่การเจ็บป่วยครั้งต่อไปอาการของโรคจะลดความรุนแรงลง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยเด็กจะติดเชื้อซ้ำได้ใน 2-3 สัปดาห์ ผู้ใหญ่มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้เหมือนกัน แต่พบไม่บ่อยนัก

การป้องกันการติดเชื้อ ไวรัส rsv
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส RSV สิ่งที่จะช่วยป้องกันได้คือความรู้ความเข้าใจว่าโรคนี้ติดต่อกันได้อย่างไร ป้องกันไม่ให้เด็กเล็กสัมผัสเชื้อโรคผ่านทางตา จมูก ปาก หู ซึ่งเป็นทางเข้าของเชื้อโรคไปสู่ปอด มีวิธีป้องกันดังนี้
- ก่อนอุ้มเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดให้ทั่วมือ พร้อมกับสอนเด็ก ๆ ให้ล้างมือบ่อย ๆ
- หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็กเพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโรคได้
- สวมหน้ากากอนามัยปิดปากปิดจมูกป้องกันการติดเชื้อผ่านทางการไอ จาม น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
- หากเด็กติดเชื้อไวรัส RSV แล้ว ควรรักษาให้หายดีก่อนไปโรงเรียน ป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนอื่น
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีเด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก
- แยกของใช้ส่วนตัว หมั่นทำความสะอาดของใช้และบ้านเรือน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย เนื่องจากเชื้อไวรัส RSV อยู่บนมือหรือพื้นผิวสิ่งของได้นานกว่า 30 นาที

ที่มาข้อมูล
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/december-2019/vaccine-for-children
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-แม่และเด็ก/วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กแรกเกิด--12-ปีที่พ่อแม่ต้องรู้
https://www.synphaet.co.th/children-ramintra/วัคซีนสำหรับเด็ก-ตั้งแต/
https://www.mccormickhospital.com/web/articles/blogs/ทางเดินหายใจอักเสบจากเชื้อ%20RSV%20(Respiratory%20Syncytial%20Virus)#:~:text=การรักษา,ปอดและดูดเสมหะออก

วัคซีน อีสุกอีใส https://www.medparkhospital.com/content/chicken-pox
วัคซีน หัดเยอรมัน https://www.medparkhospital.com/content/rubella
วัคซีน เด็ก https://www.medparkhospital.com/content/baby-vaccine-package

[Image: DHywER.md.jpg]