ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นและค่าลดหย่อนสำหรับยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91 - Printable Version

+- ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว (http://www.thaibuddytrip.com/forum)
+-- Forum: ประสบการณ์อื่นๆ (/forumdisplay.php?fid=1)
+--- Forum: ความรู้ ชิลชิล (/forumdisplay.php?fid=2)
+--- Thread: เงินได้ที่ได้รับยกเว้นและค่าลดหย่อนสำหรับยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91 (/showthread.php?tid=18926)



เงินได้ที่ได้รับยกเว้นและค่าลดหย่อนสำหรับยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91 - Nobita - Mon, 22 Feb 16 15:32

หลังจากกระทู้ก่อนหน้าเราได้พูดถึงเรื่องของเงินได้ที่ต้องนำมายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, 91 กันแล้ว กระทู้นี้เราก็มาศึกษาส่วนของเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นเสียภาษีและค่าลดหย่อนต่างๆ ที่มี เพื่อให้เราใช้สิทธิได้ครบถ้วน ถูกต้องและไม่ขาดไม่เกินกันนะครับ

ปล. ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรนะครับ

[attachment=4749]

=====================================================
เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หักได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง โดย 10,000 บาทแรก
หักเป็นรายการลดหย่อน ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท
หักเป็นรายการยกเว้นเงินได้

***เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับลดหย่อนและยกเว้น เมื่อรวมกับ
(1) กบข. (2) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน (3) กองทุนการออมแห่งชาติ
(4) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) (5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ แล้ว
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ***

=====================================================
เงินสะสม กบข.
หักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยหักเป็นรายการยกเว้นเงินได้

***เงินสะสม กบข. ที่ได้รับยกเว้นเมื่อรวมกับ (1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน (3) กองทุนการออมแห่งชาติ
(4) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) (5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ แล้ว
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ***

=====================================================
เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
หักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยหักเป็นรายการยกเว้นเงินได้

***เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนที่ได้รับยกเว้น เมื่อรวมกับ
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (2) กบข. (3) กองทุนการออมแห่งชาติ
(4) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) (5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ แล้ว
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ***

=====================================================
เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ
หลักเกณฑ์การหักเงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ
- หักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยหักเป็นรายการยกเว้นเงินได้

***เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติที่ได้รับยกเว้น เมื่อรวมกับ
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (2) กบข. (3) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) (5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ แล้ว
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ***

=====================================================
เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน
ค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือตามกฎหมาย
ว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไม่รวมค่าชดเชยที่ได้รับเพราะ
เหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกิน
ค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

*** เป็นการได้รับเงินกรณีเลิกจ้าง / ลูกจ้างต้องไม่สมัครใจขอลาออก
จากงาน /ไม่รวมเกษียณและสิ้นสุดการจ้าง ***

=====================================================
บุตร
หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนบุตร
- ลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
- บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือของคู่สมรส
- บุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้
- บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ยกเว้น
เงินได้จากเงินปันผล
- บุตรต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
- เป็นผู้เยาว์ (อายุไม่ถึง 20 ปี) หรือผู้มีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษา
อยู่ในมหาวิทยาลัย (ปริญญาตรี โท เอก ในประเทศ) หรือชั้นอุดมศึกษา
(ปวส) หรือเป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

=====================================================
อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา/มารดา
- บิดา/มารดาต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (การคำนวณอายุ
ให้นำปีภาษี หักด้วย พ.ศ. เกิดของบิดา/มารดา)
- บิดา/มารดา ต้องมีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
- อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
- หากภริยาแยกยื่นแบบเสียภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักบิดา/มารดาของตน
- บิดา/มารดาต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้นเกิน 30,000 บาท
- ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
- บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิหักลดหย่อน
- บุตรหลายคนอุปการะบิดา/มารดา ให้บุตรเพียงคนเดียวที่มีหลักฐาน
(ล.ย.03) เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน

=====================================================
อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนค่าอุปการะคนพิการ/ทุพพลภาพ
- คนพิการต้องมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- ผู้ใช้สิทธิต้องมีชื่อเป็นผู้ดูแลในบัตรประจำตัวของคนพิการ
- คนทุพพลภาพต้องเป็นกรณีที่แพทย์ได้ตรวจและมีความเห็นว่า
ทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน
- คนพิการ/ทุพพลภาพต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท
- การหักลดหย่อนต้องมีหนังสือรับรอง (ล.ย.04-กรณีคนพิการ,
ล.ย.04.1-กรณีคนทุพพลภาพ)

=====================================================
เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
หลักเกณฑ์การยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพบิดา/มารดา
- ผู้มีเงินได้จ่ายค่าเบี้ยประกันให้บิดา/มารดาของตน และบิดา/มารดา
ของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่
ไม่เกิน 15,000 บาท
- บิดา/มารดา ต้องมีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
- ต้องเป็นเบี้ยประกันสุขภาพ ไม่ใช่เบี้ยประกันชีวิต (หากเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิต
และมีการประกันสุขภาพเพิ่มเติม ไม่สามารถหักลดหย่อน)
- บิดา/มารดาต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้นเกิน 30,000 บาท
- ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
- บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิยกเว้นฯ
- ภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นแบบเสียภาษี หรือใช้สิทธิก็ตาม ให้ต่างฝ่าย
ต่างได้รับยกเว้นฯ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดา/มารดาของตน

=====================================================
เบี้ยประกันชีวิต
หลักเกณฑ์การลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต
- หักเป็นค่าลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
สำหรับเบี้ยประกันส่วนที่เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 90,000 บาท
หักเป็นรายการยกเว้น ซึ่งต้องไม่เกินจากจำนวนเงินได้เมื่อหัก
ค่าใช้จ่ายแล้ว (มีผลเท่ากับว่าเบี้ยประกันชีวิตให้หักลดหย่อนได้
ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
- กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ แต่มีการประกันชีวิตไว้ หากความเป็นสามี
ภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต
ของคู่สมรสได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
- เป็นการประกันชีวิต ที่กรมธรรม์มีกำหนดเวลา 10 ปีขึ้นไป
- หากมีผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี (ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์)
ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี

*** หากทำประกันชีวิตให้บุตร หรือ บิดา/มารดา ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ ***

=====================================================
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
หลักเกณฑ์การยกเว้นเงินได้สำหรับเบี้ยประกันแบบบำนาญ
- ให้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตก่อน หากเบี้ยประกันชีวิต
ยังไม่เกิน 100,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันแบบบำนาญไปหัก
ให้เต็มจำนวน 100,000 บาท
- เฉพาะเบี้ยประกันแบบบำนาญหักเป็นรายการยกเว้นได้ไม่เกิน
ร้อยละ 15 ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- เบี้ยประกันแบบบำนาญที่ยกเว้นนั้น เมื่อรวมกับ (1) เงินสะสม
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (2) กบข. (3) เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์
ครูโรงเรียนเอกชน (4) กองทุนการออมแห่งชาติ (5) กองทุนรวมเพื่อการ
เลี้ยงชีพ (RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ แต่มีการประกันแบบบำนาญไว้ หากความ
เป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนเบี้ยประกัน
บำนาญของคู่สมรสได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งจำนวน
ดังกล่าวให้รวมถึงเบี้ยประกันชีวิตด้วย (ถ้ามี) โดยบันทึกข้อมูลในช่อง
เบี้ยประกันชีวิต
- ประกันแบบบำนาญ ที่กรมธรรม์มีกำหนดเวลา 10 ปีขึ้นไป

=====================================================
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
สำหรับปีภาษี 2558 สามารถหักลดหย่อนตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
มาตรา 33 ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 9,000.00 บาท
แต่หากประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 สามารถหักลดหย่อนได้
ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 5,184.00 บาท
*** กรณีดังต่อไปนี้ ไม่สามารถทำรายการผ่านอินเทอร์เน็ต
(1) ผู้ประกันตนนอกระบบตามตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม มาตรา 40
(2) กรณีผู้มีเงินได้จะนำเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมของคู่สมรสที่
ไม่มีเงินได้มาหักลดหย่อน ***

=====================================================
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
หลักเกณฑ์การยกเว้นเงินได้สำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)- ให้หักเป็นรายการยกเว้นในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ได้รับยกเว้นนั้น เมื่อรวมกับ
(1) เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (2) กบข. (3) เงินสะสมกองทุน
สงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน (4) กองทุนการออมแห่งชาติ (5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ต้องซื้อไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า
5,000 บาทต่อปี
- ต้องซื้อไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง และไม่ระงับการซื้อเป็นเวลาเกินกว่า
1 ปีติดต่อกัน
- ต้องถือไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก หากผิดเงื่อนไข
ต้องยื่นแบบเพิ่มเติมและรับผิดเงินเพิ่ม หากยื่นแบบฯ ภายในเดือนมีนาคม
ของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไขไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

=====================================================
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
หลักเกณฑ์การยกเว้นเงินได้สำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
- ให้หักเป็นรายการยกเว้นไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แต่ไม่เกิน
500,000 บาท
- ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้คือบุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ
หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- ต้องถือต่อเนื่องกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน หากขายหน่วยลงทุน
ก่อนกำหนด ต้องยื่นแบบเพิ่มเติมพร้อมรับผิดเงินเพิ่ม

=====================================================
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
หลักเกณฑ์การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
- ได้รับลดหย่อนและยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
100,000 บาท
- เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคาร
อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุด หรือสร้างอาคารใช้อยู่อาศัย
บนที่ดินของตน
- ต้องจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างนั้นเป็นประกันการกู้ยืม
- หากผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดหลายแห่ง ให้ใช้สิทธิได้ทุกแห่ง
รวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- หลายคนร่วมกันกู้ยืม (กู้ร่วม) ให้เฉลี่ยดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นตามจำนวน
ผู้กู้ร่วม โดยใช้จำนวนดอกเบี้ยฯ ที่จ่ายจริง ซึ่งไม่เกิน 100,000 บาท
- กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้โดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มีเงินได้
ใช้สิทธิเต็มตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หากคู่สมรส
ไม่มีเงินได้ แต่มีชื่อเป็นผู้กู้ หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ได้
- กรณีกู้เพิ่มเติมจากสัญญาเดิมไม่ได้รับสิทธิให้นำมาหักลดหย่อน
- ต้องมีหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกำหนด

=====================================================
เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/การกีฬา
หลักเกณฑ์การหักบริจาคเงินสนับสนุนการศึกษา
- หักได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของ
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- การบริจาคต้องเป็นการบริจาคเงินสดเท่านั้น
- เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน
ที่ดิน วัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน หนังสือทางวิชาการ
ตำรา ฯลฯ จัดหาครู อาจารย์ ฯลฯ หรือเป็นทุนการศึกษา การค้นคว้า
การวิจัย ฯลฯ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
- ต้องเป็นสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด
- ต้องมีหลักฐานจากสถานศึกษา และเอกสารหลักฐานที่ได้รับต้อง
ระบุว่าเป็นการสนับสนุนการศึกษาเพื่อ..............

*** ค้นหารายชื่อสถานศึกษาจาก http://www.rd.go.th > บริการข้อมูล >
รายชื่อสถานศึกษาที่สามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคให้ 1 ได้ 2 ***

=====================================================
เงินบริจาค
หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนเงินบริจาค
- หักได้ร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และเงิน
บริจาคสนับสนุนการศึกษา
- บริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย ฯลฯ สำหรับ มูลนิธิ
สถานสาธารณกุศลที่สามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ สามารถค้นหา
รายชื่อสถานสาธารณกุศลจาก http://www.rd.go.th > บริการข้อมูล >
รายชื่อมูลนิธิ สถานสาธารณกุศลที่สามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคได้

=====================================================
ภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์
หลักเกณฑ์การหักยกเว้นภาษีบ้านหลังแรก
- ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
มูลค่าไม่เกิน 5,000,000 บาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และอสังหาริมทรัพย์นั้น
ไม่เคยมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน (บ้านมือหนึ่ง)
- จ่ายค่าซื้อและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ระหว่างวันที่
21 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555
- ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ฯ มาก่อน และไม่เคยใช้สิทธิ์
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือ
สร้างที่อยู่อาศัย- ใช้สิทธิยกเว้นครั้งแรก ภายใน 5 ปีภาษี นับแต่ปีภาษีที่มีการ
จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และต้องใช้สิทธิต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปีภาษี
- สิทธิยกเว้นภาษีต่อปี =((ค่าซื้อฯ ไม่เกิน 5,000,000 x 10%) / 5)

=====================================================
ค่าการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
หลักเกณฑ์การหักค่าการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
- หักเป็นค่าลดหย่อนภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 ต่อปี
เฉพาะค่าบริการหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปในเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2558
ทั้งนี้เฉพาะค่าบริการหรือที่พักที่ได้จ่ายไปตามวันที่กฏกระทรวงมีผล
บังคับใช้และเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
- การใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษี เพื่อการท่องเที่ยวภายในประเทศต้อง
เป็นเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
ตามกฏหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์หรือที่ได้จ่ายเป็นค่า
ที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมตามกฏหมายว่าด้วย
โรงแรมสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเท่านั้น
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก http://www.rd.go.th > บริการข้อมูล >
รายชื่อผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่ผู้มีเงินได้
มีสิทธิขอหักลดหย่อนภาษี และรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม
ที่ผู้มีเงินได้มีสิทธิขอหักลดหย่อนภาษี

=====================================================
หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนเงินได้ที่จ่ายเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์
- ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดใน อาคารชุด มูลค่าไม่เกิน 3,000,000 บาท
เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน (บ้านใหม่/บ้านมือสอง)
- จ่ายค่าซื้อและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559
- ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ฯ มาก่อน และไม่เคยใช้สิทธิ์ลดหย่อนดอกเบี๊ยเงินกู้ยืม
สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือ สร้างที่อยู่อาศัย
- ใช้สิทธิหักลดหย่อนต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปีภาษี
- สิทธิหักลดหย่อนภาษีต่อปี =((ค่าซื้อฯ ไม่เกิน 3,000,000x20%)/5)
ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดี กรมสรรพากรประกาศกำหนด

=====================================================
ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในประเทศ
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม
และได้รับใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฏากร
- ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
การซื้อสินค้าไม่รวมถึงสินค้า ดังต่อไปนี้
(1)สุรา เบียร์ และไวน์
(2)ยาสูบ
(3)น้ำมัน และก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
(4)รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ

=====================================================

ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ ได้เงินคืนภาษีแล้วก็อย่าลืมแบ่งทำประโยชน์ให้สังคมบ้างนะครับ ป่ะ ไปเที่ยวกัน กระจายรายได้