พาเด็กไปเที่ยวปิดเทอม 11-14 เม.ย.52 พบอากาศสามฤดูในคราวเดียวของทริปนี้ คือ หนาวเย็น+ฝนชุ่มฉ่ำ+ร้อนตับแลบ.......
กาญจนบุรี-สุสานดอนรัก-ช่องเขาขาด-อช.ทองผาภูมิ-ป้อมปี่-ด่านเจดีย์สามองค์-หลวงพ่ออุตมะ-สะพานมอญ-เมืองบาดาล-สังขละบุรี-เกริงกระเวีย-บ่อน้ำร้อนหินดาด-ถ้ำกระแซ
[
attachment=1688]
คุณ bon_nui มีทริปมาฝากอีกแล้ว
เข้ามาติดตามบรรยากาศครับ หุหุ
บรรยากาศยามเช้าวันนี้ อากาศปลอดโปร่ง..มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเดินชมก่อนเรา 3-4 ท่าน
มีความตั้งใจคอยชม ขบวนรถไฟขบวนแรก ที่จะผ่านสถานีนี้ ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแคว ปลายทางที่จุดสิ้นสุดรางรถไฟ ที่สถานีน้ำตก
[
attachment=1693]
[
attachment=1694]
[
attachment=1695]
Nobita เขียน:คุณ bon_nui มีทริปมาฝากอีกแล้ว
เข้ามาติดตามบรรยากาศครับ หุหุ
+++++++++++++มิเคยลืมเพื่อนที่นี่ มีภาระด้านเวลา+++++++++++
[
attachment=1710]
โรมูซา..คือแรงงานชาวเอเซียที่ลำบากมากกว่าเชลยศึก เนื่องจากไม่ทีแพทย์ทหารคอยดูแล
[
attachment=1711]
ในช่วงที่เร่งสร้างทางรถไฟให้เสร็จตามกำหนดเรียกว่าช่วง สปิโต หรือตอนเร่งรัด
ช่องเขาขาดยังเป็นอนุสรณ์สถาน ที่ทหารญี่ปุ่นกระทำไว้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
[
attachment=1712]
ด้วยเหตุที่ผู้คุมชาวญี่ปุ่นบังคับ ให้นักโทษทำงานในเวลากลางคืน ใช้แสงสว่างจากคบไฟ ซึ่งให้ความรู้สึกว่าที่นี่คือขุมนรกบนโลกจริงๆ
พวกเขาทำงานตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ได้หยุดหย่อน ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส เพราะนอกจากงานหนักและทารุณแล้ว ยังมีโรคไข้ป่าเล่นงานเชลยศึก หลายคนเจ็บป่วยล้มตายลงเป็นใบไม้ร่วง
เชลยศึก 6 หมื่นคน 20 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิต แรงงานอีกไม่ต่ำกว่า 9 หมื่นคน ต้องสังเวยชีวิตระหว่างการก่อสร้างรถไฟแห่งนี้ จนมีผู้เปรียบเปรยว่า 1 หมอนรางรถไฟเท่ากับ 1 ชีวิตของเหล่าเชลยศึก
[
attachment=1713]
[
attachment=1714]
ขณะอายุได้ 17 ปี ทอมสมัครเข้าเป็นทหารยศสิบโท กองพลน้อยที่ 22 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2484 เขาถูกจับเป็นเชลยศึกระหว่างทำสงครามที่สิงคโปร์ เดือนกุมภาพันธ์ 2485 หลังจากนั้นถูกนำตัวมากักขังในฐานะเชลยศึกนานถึง 3 ปี ในกองกำลังเอฟอร์ซ (A-Force) ระหว่างถูกคุมขังทอมถูกบังคับให้ทำงานก่อสร้างทางรถไฟไทย-พม่าสายประวัติศาสตร์นี้ และถูกนำตัวไปขังไว้ตามค่ายทหารต่างๆ ถึง 10 ค่าย จนเป็นต้นเหตุให้เขาติดเชื้อไข้มาลาเรียและโรคบิด ต่อมาเขาได้ทำหน้าที่ทหารเสนารักษ์ คอยช่วยเหลือเชลยศึกคนอื่นๆ ในค่ายพยาบาลบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 55 --------------------------------------------------------------------------------
...............
โดยทอมได้นำเสนอข้อมูลต่อรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อของบประมาณบูรณะพัฒนาช่องเขาขาดให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ในลักษณะกองทุน โดยเงินก้อนแรกถูกส่งมาเมื่อปี 2530 ถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างอนุสรณ์สถานช่องเขาขาด ต่อมาปี 2537 ได้รับเงินสนับสนุนอีกครั้ง จึงนำไปใช้สร้างพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด เพื่อจัดแสดงมินิเธียเตอร์และรวบรวมข้อมูลภาพถ่าย ข้าวของเครื่องใช้ ระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเมื่อ 70 ปีก่อน โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2542 --------------------------------------------------------------------------------
เส้นทางเดินชมถูกสร้างอย่างดีเยี่ยม แม้นพื้นจะเปียกแต่มีวัสดุกันลื่นอย่างดีที่พื้นและราวจับ
[
attachment=1718]
ภายในบริเวณมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติไปยังช่องเขาขาด ซึ่งเป็นสวนหนึ่งของทางรถไฟสายมรณะ ที่เชลยศึกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัดเจาะภูเขาหินด้วยมือ
ปราศจากเครื่องมืออันทันสมัยให้เป็นช่อง สำหรับสร้างทางรถไฟ ปัจจุบันยังมีร่องรอยของทางรถไฟปรากฏ
[
attachment=1724]
[
attachment=1723]
มีการดูแลรักษาอย่างดี
เดินตามรอยรางรถไฟ ที่ตักช่องเขา เป็นทางรถไฟ ที่สมัยสงครามโลก ญี่ปุ่น เอาเฉฉลยศึกตัดทางรถไฟเส้นนี้ ไปพม่า..เดินไปเรื่อยๆ ก็จะมีจุดที่ไวอาลัย
--------------------------------------------------------------------------------
วันนี้ที่ช่องเขาขาดจะปราศจากคบไฟ แรงงานเชลยศึก และการทรกรรม แต่หินทุกก้อน ต้นไม้ทุกต้น ก็มีเรื่องราวให้เล่าขานถึงเหตุการณ์เมื่อวันวาน
มีคนเข้าชม 80,000-100,000 คน/ปี
[
attachment=1725]
[
attachment=1726]
จะขึ้นไปที่บ้านอีต่อง และค้างคืนที่ ดินแดนแห่งป่าฝนหนาว และม่านหมอก เป็นคืนที่ที่ 1 โดยเดินทางออกจากตลาดทองผาภูมิเข้าสู่เส้นทางท่องเที่ยวเส้น 3272 เป้าหมายแรกคือชม เขื่อนวชิราลงกรณ์ หรือเขื่อนเขาแหลม
[
attachment=1728]