ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว

Full Version: สิ่งที่ต้องเรียนรู้ก่อนการกู้ร่วมซื้อบ้าน
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
บ้านเป็นสิ่งที่เราซื้อหา อยู่อาศัยกันในชีวิตประจำวันนะครับ เมื่อเรามีงาน สามารถเก็บเงินได้สักก้อนหนึ่งนั้น บ้านก็เป็นสิ่งที่ควรซื้อเอาไว้ สำหรับคนที่ยังกำลังมองหาบ้านสักหลังหนึ่งอยู่ แต่ว่าการจะมีบ้านสักหลังหนึ่งนั้น แต่เดิมทีเราอาจจะต้องยื่นกู้เพียงคนเดียว ซึ่งอาจจะสามารถผ่านได้ยาก หรือได้ในวงเงินที่จำกัดอาจไม่เพียงพอนะครับ ก็จะเป็นปัญหาตามมาอีก แต่ในปัจจุบัน ที่เราไม่จำเป็นจะต้องกู้เพียงคนเดียวด้วย เพราะเราสามารถที่จะกู้ร่วมกับผู้อื่นได้ ด้วยการกู้ร่วมนะครับ ซึ่งการกู้ในลักษณะนี้ จะเป็นอย่างไร มีข้อต้องระมัดระวังหรือข้อควรรู้อะไรบ้าง วันนี้เราจะมาดูกันเลยครับ
มีภาระหนี้ร่วมกัน ตามหลักของธนาคารแล้ว การกู้ร่วมซื้อบ้านจะนับว่าเป็นผู้ที่ มีภาระหนี้ร่วมกัน ซึ่งต้องช่วยกันจ่ายค่างวดในแต่ละเดือนให้ตรงตามที่กำหนดไว้ แต่เนื่องจากกรณีที่มีภาระหนี้ร่วมกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ขึ้นมา อีกคนหนึ่งก็ต้องรับหน้าที่จ่ายในส่วนนั้นด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้น นอกจากนี้ การจะขอถอนรายชื่อจากการเป็นผู้กู้ร่วมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากทางธนาคารจะทำการตรวจสอบใหม่อีกครั้งว่าผู้กู้เพียงคนเดียวนั้น จะมีความสามารถในการผ่อนชำระเพียงพอหรือไม่ หากว่าคุณสมบัติไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถถอนชื่อผู้กู้ร่วมได้ และที่สำคัญ แม้จะมีการจ่ายหนี้จากผู้กู้เพียงคนเดียว แต่ตราบใดที่อีกฝ่ายยังมีชื่อในสัญญากู้ร่วมซื้อบ้าน บ้าน ก็ถือว่าเป็นเจ้าของร่วมเช่นเดียวกัน ซึ่งกรณีนี้สร้างปัญหาให้กับผู้กู้ร่วมซื้อบ้านหลายกรณีมาก เช่น อีกฝ่ายไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของมาให้ เพราะฉะนั้น ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้กันให้ดีๆ
ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีถูกหารเฉลี่ย อย่างที่ทุกคนทราบกันดี ดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อบ้านนั้นสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีรายปีได้ แต่ในกรณีของการกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้านนั้น จะถูกหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ร่วม ยกตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยจากการผ่อนบ้านหลังนี้สามารถลดหย่อนภาษีได้ 70,000 บาท แต่หากมีผู้กู้ร่วม 2 คน จะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้เพียงคนละ 35,000 เท่านั้น
การขายบ้านต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย ในกรณีของการกู้ร่วมซื้อบ้าน หากต้องการขายบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จะต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย ซึ่งสร้างปัญหามานักต่อนัก คนหนึ่งอยากขายแต่อีกคนหนึ่งไม่ยินยอม ทำให้การขายต้องถูกยืดระยะเวลาออกไปจนกว่าจะยินยอมทุกฝ่าย เพราะฉะนั้นควรจะศึกษาพฤติกรรมของอีกฝ่ายให้ดีๆ ก่อนตัดสินใจกู้ร่วม จะได้ไม่เกิดปัญหานี้ในภายหลัง
การซื้อบ้าน แบบกู้ร่วม ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสานฝันความอยากมีบ้านสักหลังนะครับ ช่วยให้เราได้มีโอกาส มีความฝันที่เป็นจริงด้วย ด้วยวิธีการกู้ร่วม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การกู้ร่วม เป็นการกระทำร่วมกันของคนสองคน หากเราจะทำอะไรก็ตาม โดยส่วนมากแล้ว เราก็ต้องได้รับความยินยอมจากทั้งคู่ ทั้งสองฝ่ายด้วยนั่นเอง ตั้งแต่เรื่องการชำระหนี้ การเสียภาษีบ้าน การขาย ทั้งหมดทั้งมวลเลยนะครับ
Reference URL's